มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
หน้าเว็บ
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
พบปะชุมชนกับรายการหน้าต่างสังคม
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 นายอิบราฮิม ยานยา ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ และคณะผู้จัดรายการหน้าต่างสังคม ภายใต้มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ได้จัดกิจกรรมพบปะกับประชาชนซึ่งเป็นผู้ติดตามรายการผ่านทางวิทยุ อสมท.ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 20.00-21.00 น.
การจัดกิจกรรมพบปะกับประชาชนในพื้นที่ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ทางรายการได้จัดขึ้น ณ โรงเรียนบ้านลากอ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ 60 กว่าคน มาจากพื้นที่อำเภอยะหา กาบัง จังหวัดยะลา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งปัญหาสังคม การเมือง การศึกษาและวัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงและรับฟังข้อเสนอจากประชาชนในพื้นที่ ในประเด็นต่างๆ
ผู้เข้าร่วมจากอำเภอยะหา กล่าวว่า จากการเข้าร่วมในครั้งนี้ เกิดมิติใหม่ในการพัฒนา แลกเปลี่ยนโดยเฉพาะมุมมองการดำเนินงานของมูลนิธิและประชาชน ซึ่งจะต้องเดินควบคู่กันไป การพูดคุยในวันนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นสร้างความเข้มแข็งและความมั่นใจต่อประชาชนในการขับเคลื่อนงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม อยากให้มีกิจกรรมพูดคุยให้กับพื้นที่อื่นๆ อีกต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
เครือข่ายคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อเลขาฯ ศอ.บต.
วันนี้ 15 ธันวาคม 2554 เครือข่ายคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อเลขาธิการ ศอบต. กรณีคัดค้านและเสนอให้ยกเลิกการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปยังนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่ามกลางฝนตกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ทางรัฐบาลได้ประกาศต่ออายุการบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมาแล้วก็ตาม
เวลาประมาณ 11.00น.นายกริยา มูซอ ผู้ประสานงานเครือข่ายคัดค้าน พ.ร.ฉุกเฉิน พร้อมตัวแทนเครือข่าย 19 องค์กร ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ นายอดินันท์ ปากบารา รองเลขาธิการ ศอ.บต. ซึ่งเป็นตัวแทนรับมอบหนังสือ รายละเอียดในจดหมายระบุว่า ทางเครือข่ายมีการขับเคลื่อนกิจกรรมกับประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการรับฟังนำมาซึ่งข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อให้พิจารณา ยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระหว่างการควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย อีกทั้งตลอดเวลาการแก้ไขปัญหา 6 ปีที่ผ่านมา ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ แต่กลับเพิ่มกระแสความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น หรืออคติของผู้ที่ถูกควบคุมตัว จนกลายเป็นการล่อเลี้ยงปัญหาการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง พร้อมเสนอให้ทางรัฐบาลทบทวนการบังคับใช้อย่างละเอียดก่อนการประกาศต่ออายุ แต่ละครั้งที่จะมีการต่ออายุ จะต้องมีการสอบถามเพื่อถ่วงดุลการบังคับใช้กฎหมายด้วย ทางเครือข่ายประกาศเจตนารมณ์จะขับเคลื่อน คัดค้านการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินและการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อไป
เวลาประมาณ 11.00น.นายกริยา มูซอ ผู้ประสานงานเครือข่ายคัดค้าน พ.ร.ฉุกเฉิน พร้อมตัวแทนเครือข่าย 19 องค์กร ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ นายอดินันท์ ปากบารา รองเลขาธิการ ศอ.บต. ซึ่งเป็นตัวแทนรับมอบหนังสือ รายละเอียดในจดหมายระบุว่า ทางเครือข่ายมีการขับเคลื่อนกิจกรรมกับประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการรับฟังนำมาซึ่งข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อให้พิจารณา ยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระหว่างการควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย อีกทั้งตลอดเวลาการแก้ไขปัญหา 6 ปีที่ผ่านมา ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ แต่กลับเพิ่มกระแสความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น หรืออคติของผู้ที่ถูกควบคุมตัว จนกลายเป็นการล่อเลี้ยงปัญหาการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง พร้อมเสนอให้ทางรัฐบาลทบทวนการบังคับใช้อย่างละเอียดก่อนการประกาศต่ออายุ แต่ละครั้งที่จะมีการต่ออายุ จะต้องมีการสอบถามเพื่อถ่วงดุลการบังคับใช้กฎหมายด้วย ทางเครือข่ายประกาศเจตนารมณ์จะขับเคลื่อน คัดค้านการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินและการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อไป
วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การธำรงอัตลักษณ์คือการธำรงไว้ซึ่งชาติพันธุ์และศาสนา
2011-11-23 05:26:10 | |
![]() | |
ตูแวดานียา มือรีงิง การเดินทางของข้าพเจ้าจากสามจังหวัดชายแดนใต้ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความรุนแรงทั้งยิงรายวันและระเบิดจนกลายเป็นเหตุการณ์ปกติไปแล้วในภาคใต้สู่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้แตกต่างกับทุกครั้ง เนื่องจากการเดินทางในครั้งนี้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เดินทางร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการประชาหารือและแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมอีกประมาณ 20 กว่าชีวิต ที่มาจากหลากหลายอาชีพและวัยวุฒิที่ต่างกัน มีทั้งตัวแทนหน่วยงานรัฐในพื้นที่อาทิ รอง ผอ.ศอ.บต. ภาคประชาสังคม นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ กวีซีไรต์ นักการเมืองท้องถิ่น และสื่อมวลชน เราเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่สู่จังหวัดเชียงใหม่โดยสายการบินแอร์เอเชีย ทุกคนที่เดินทางมาเชียงใหม่ในครั้งนี้พกความหวังและเปี่ยมไปด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ในการที่จะร่วมหาทางแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะในการธำรงอัตลักษณ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม: วิถีสู่สันติภาพชายแดนใต้ โครงการนี้จัดโดยมูลนิธิเอเชีย ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย 2554 ทำไมการสัมมนาเกี่ยวการแก้ปัญหาภาคใต้มูลนิธิเอเชียต้องมาจัดไกลถึงเชียงใหม่ คุณอ้นหรือสันติ ดินแดน ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการได้อธิบายให้ฟังว่า การเลือกจังหวัดเชียงใหม่นั้นเนื่องจากเชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึ่งที่ประวัติศาสตร์ความเป็นมาคลายคลึงกับสามจังหวัดคือเคยเป็นอาณาจักรของตัวเองเหมือนกับสามจังหวัด มีภาษาเป็นของตัวเอง และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ต้องการให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวโดยตรงเช่น อาจารย์ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ผศ.ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ และนางสาวลาเคละ จะทอ ผู้แทนจากเครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากร ที่สำคัญผู้จัดต้องการพาผู้เข้าร่วมออกจากพื้นที่ความขัดแย้ง ปลดปล่อยความเครียดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กิจกรรมแรกก็น่าสนใจแล้วโดยการแนะนำตัวเองของผู้เข้าร่วมทุกคนว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เพื่อสร้างความใกล้ชิดและความเป็นกันเอง จากการแนะนำตัวเองทำให้สามารถสลายความตึงเครียดและสร้างบรรยากาศเป็นกันเองได้มาก นอกจากแนะนำว่าเป็นใคร ทำงานอะไร ผู้เข้าร่วมต้องบอกด้วยว่าคาดหวังอะไรจากการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีหลายๆ ท่านมีความเป็นมาทางชาติพันธุ์ที่น่าสนใจและหลากหลาย เช่นบางคนพ่อเป็นเป็นมลายูปัตตานี แม่เป็นชาวกรุงเทพ ตากับยายเป็นมอญ บางคนสับสนในการเป็นตัวตนของตัวเอง นอกจากความรู้ที่ได้จากเวทีแล้วผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสลงไปสัมผัสกับชุมชนที่มัสยิดบ้านฮ่อตั้งอยู่ในใจกลางเมืองเชียงใหม่ติดกับตลาดไนท์บาซาร์ สาระสำคัญและสิ่งที่เห็นชัดเจนของชุมชนมุสลิมที่นี่คือความเข้มแข็งของชุมชนมุสลิมจีน การรักษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์จีนคือการพูดภาษาจีน สอนภาษาจีน อ่านคุตบะฮด้วยภาษาจีน สิ่งประทับใจคือการกล่าวต้อนรับของท่านอิหม่ามด้วยภาษาจีนและมีล่ามแปล นอกจากนั้นสิ่งที่เราไม่ค่อยเห็นในสังคมสามจังหวัดคือการใช้พื้นที่มัสยิดอย่างครบวงจรทั้งเป็นศูนย์การละหมาด เป็นสถานศึกษา ศูนย์อบรม สถานที่จัดกิจกรรม และที่สำคัญมากคือการบริหารมัสยิดที่เป็นระบบและมีเงินหมุนเวียนในการเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการบริหารโรงเรียนและมัสยิด มัสยิดบ้านฮ่อเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สร้างบรรยากาศแห่งอิสลาม ประเด็นสำคัญอาคารมัสยิดและอาคารโรงเรียนห้าชั้นที่โดดเด่นใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 30 ล้านบาทเป็นเงินบริจาคของมุสลิมทั้งในประเทศไทยและจากมุสลิมในมลฑลยูนาน และไม่มีเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐบาลไทยเลย รายได้หลักของมัสยิดนอกจากเงินบริจาคแล้วมัสยิดมีอาคารพาณิชย์ให้เช่าและนำเงินตรงนี้มาบริหารจัดการมัสยิดและโรงเรียน หากมัสยิดในพื้นที่มีอิหม่าม คอเต็บ บิลาล และคณะกรรมการมัสยิดในพื้นที่มีวิสัยทัศน์และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารมัสยิดและโรงเรียนโดยไม่ต้องแบมือรอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐเพียงอย่างเดียวน่าจะเป็นสิ่งที่ดีและพัฒนามัสยิดและโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลของมัสยิดได้อย่างครบถ้วนสังคมสามจังหวัดสามารถพัฒนาได้มากกว่านี้ “การธำรงอัตลักษณ์ของแต่เผ่าพันธุ์คือการธำรงไว้ซึ่งภาษา วัฒนธรรม ศาสนาและมาตุภูมิให้คงอยู่ตลอดไป” |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)